ปฏิทินกิจกรรม

Value Creation and Enhancement for Listed Companies with the New COSO 2017 Enterprise Risk Management (ERM)

วันที่ 14 มี.ค. 2561
เวลา 08:30 - 17:00
สถานที่ หอประชุม ศ.สังเวียน ชั้น 7 อาคาร C ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (CMC)
จำนวนที่เปิดรับสมัคร 450
กำหนดการลงทะเบียน 13 ก.พ. 2561  เวลา  00:00  -  13 ก.พ. 2561  เวลา  00:00
ค่าธรรมเนียม ไม่มีค่าธรรมเนียม
วิทยากร
  • ศ.ดร.อัญญา ขันธวิทย์
  • รายละเอียด

    ผู้สนใจสามารถแจ้งความจำนงได้ที่ (https://www.surveymonkey.com/r/CLJHTPH)  จนถึงวันที่ 7 มีนาคม 2561 หรือจนกว่าที่นั่งจะเต็ม                 

                                                                      

    การบรรยายวิชาการ

    Value Creation and Enhancement for Listed Companies

    with the New COSO 2017 Enterprise Risk Management (ERM)

    จัดโดย

    คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ

    ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

    วันพุธที่ 14 มีนาคม 2561 เวลา 8.45 น. ถึง 17.00 น.

    ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย  อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

     

                การบรรยายวิชาการจัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแก่บริษัทจดทะเบียนและผู้สนใจทั่วไปในในการสร้างและเสริมมูลค่าแก่องค์กรโดยการบริหารความเสี่ยงตามตัวแบบการบริหารความเสี่ยงเชิงบูรณาการของ Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) ที่เพิ่งได้รับการปรับปรุงฉบับปี 2017 (The New COSO 2017 ERM)  การบรรยายเป็นกิจกรรมวิชาการที่ร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสครบ 80 ปีแห่งการสถาปนาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                การบรรยายแบ่งเป็น 4 ช่วง ช่วงที่หนึ่งเป็นหัวข้อ Value Creation and Enhancement for Listed Companies with the New COSO 2017 ERM, and Governance and Culture Component บรรยายกลไกที่การบริหารความเสี่ยงสร้างและเสริมมูลให้องค์กร จากนั้นจะแนะนำตัวแบบ New COSO 2017 ERM เพื่อบริหารความเสี่ยงเชิงบูรณาการให้องค์กร ก่อนที่จะบรรยายลึกลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบ Governance and Culture Component ของตัวแบบ รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิด Tone at the Top แก่องค์กรในฐานะ Key Success Factor

                การบรรยายช่วงที่สองเป็นหัวข้อ Strategy and Objective Setting Component: Strategy and Objective Setting using Balanced Scorecard (BSC) ซึ่งพิจารณาองค์ประกอบ Strategy and Objective Setting Component ของตัวแบบ การบรรยายจะเน้นย้ำให้ผู้ฟังตระหนักว่าความเสี่ยงเป็นโอกาสที่องค์กรจะดำเนินงานแล้วได้ผลงานต่างไปจากเป้าหมาย ดังนั้น การกำหนดกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่จะเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้สมมติฐานจึงสำคัญมาก  สุดท้าย การบรรยายแนะนำตัวแบบ Balanced Scorecard (BSC) ให้ผู้ฟังนำไปประยุกต์ใช้เพื่อกำหนดกลยุทธ์และวัตถุประสงค์สำหรับการบริหารงานและการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

                เมื่อองค์กรกำหนดกลยุทธ์และวัตถุประสงค์แล้วเสร็จ องค์กรย่อมดำเนินงานตามกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดนั้น โดยคาดหวังว่าการดำเนินงานจะได้ผลลัพธ์ตรงตามหรือดีกว่าเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานอาจได้ได้ผลลัพธ์ต่างไปจากเป้าหมาย  เกิดเป็นความเสี่ยง ซึ่งหากความเสี่ยงมีระดับที่สูง มูลค่าขององค์กรย่อมถดถอย เมื่อเป็นเช่นนี้ ในช่วงที่สาม การบรรยายจึงกำหนดเป็นเรื่อง Performance Component (Part I): Event Identification, Risk Assessment and Prioritization ซึ่งบรรยายองค์ประกอบ Performance Component ของตัวแบบที่ต้องระบุเหตุการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น  แล้วส่งผลให้การดำเนินงานได้ผลลัพธ์ที่ต่างจากเป้าหมาย ทั้งนี้ การระบุเหตุการณ์ความเสี่ยงอ้างอิงกลยุทธ์และแผนงาน เนื่องจากเหตุการณ์ความเสี่ยงที่ระบุได้มักมีจำนวนมาก  การบรรยายจะแนะนำการออกแบบมาตรวัดระดับความเสี่ยง  วัดระดับความเสี่ยงโดยใช้มาตรวัดที่ออกแบบ จากนั้นจัดลำดับความเสี่ยงตามระดับความเสี่ยงที่วัดได้ แล้วคัดเลือกความเสี่ยงที่มีระดับสูงสุดกลุ่มหนึ่ง (Key Risks) เพื่อนำไปบริหารจัดการ

                สุดท้าย ในช่วงที่สี่ซึ่งเป็นการบรรยายหัวข้อ Performance Component (Part II): Root Cause Analyses, Risk Mitigation Plans, and Portfolio View of Risk นั้น  การบรรยายจะแนะนำแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยแนวทางอาศัยข้อความจริงที่การบริหารจัดความเสี่ยงให้ได้ผล  จะต้องจัดการกับสาเหตุหลัก (Root Causes) ของการเกิดขึ้นของความเสี่ยง  การบรรยายจะเสนอตัวแบบเพื่อวิเคราะห์และระบุสาเหตุของความเสี่ยงได้ถึงสาเหตุหลัก  ก่อนที่จะออกแบบแผนงานบริหารความเสี่ยงที่ไปจัดการความเสี่ยงที่สาเหตุหลักตามที่วิเคราะห์ไว้นั้น  อนึ่ง ความเสี่ยงที่องค์กรประสบมักมีหลายประเภท  เกิดขึ้นพร้อมกันและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน  การบริหารความเสี่ยงประเภทหนึ่งอาจส่งผลให้ความเสี่ยงประเภทอื่นเพิ่มขึ้น หรืออาจทำให้ความเสี่ยงประเภทใหม่เกิดขึ้นได้   ดังนั้น เพื่อให้การออกแบบแผนงานบริหารความเสี่ยงพิจารณาผลลัพธ์ที่มีต่อการสร้างและเสริมมูลค่าอย่างครบถ้วนรอบด้าน  การบรรยายจะวิเคราะห์และบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งหลายพร้อมกันในรูปกลุ่มความเสี่ยง (Portfolio of Risks) เกิดเป็นการวิเคราะห์รูป Portfolio View of Risk

                ผู้เข้าฟังบรรยายไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (ฟรี)  ผู้สนใจสามารถแจ้งความจำนงได้ที่ ( https://www.surveymonkey.com/r/CLJHTPH )  จนถึงวันที่ 7 มีนาคม 2561 หรือจนกว่าที่นั่งจะเต็ม

    เวลา

    กิจกรรม

    8.45 – 9.00

    พิธีเปิด

    กล่าวต้อนรับโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร

      คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    กล่าวต้อนรับและเปิดงานโดย คุณเกศรา มัญชุศรี

       กรรมการและผู้จัดการ  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

    9.00 – 11.00

    Value Creation and Enhancement for Listed Companies with the New COSO 2017 ERM and Governance and Culture Component

    ผู้บรรยาย ศาสตราจารย์ ดร.อัญญา ขันธวิทย์

       ศาสตราจารย์ในสาขาวิขาการเงินและการธนาคาร กีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

       คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

       ประธานคณะกรรมการความเสี่ยง บริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน) และ

       ประธานคณะอนุกรรมการกำกับด้านยุทธศาสตร์และบริหารความเสี่ยง โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง

    11.00 – 11.15

    พักกาแฟ – เช้า

    11.15 – 12.45

    Strategy and Objective Setting Component: Strategy and Objective Setting using Balanced Scorecard (BSC)

    ผู้บรรยาย รองศาสตราจารย์ ดร.นภดล ร่มโพธิ์

       รองศาสตราจารย์ซึ่งสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีมติอนุมัติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “ศาสตราจารย์”

       คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ

       รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    12.45 – 13.45

    พักกลางวัน

    13.45 – 15.15

    Performance Component (Part I): Event Identification, Risk Assessment and Prioritization

    ผู้บรรยาย ศาสตราจารย์ ดร.อาณัติ ลีมัคเดช

       ศาสตราจารย์ในสาขาวิขาการเงินและการธนาคาร

       คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ

       อนุกรรมการบริหารความเสี่ยง องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมป์

    15.15 – 15.30

    พักกาแฟ – บ่าย

    15.30 – 17.00

    Performance Component (Part II): Root Cause Analyses, Risk Mitigation Plans, and Portfolio View of Risk

    ผู้บรรยาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อบรม เชาวน์เลิศ

       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาวิขาการเงินและการธนาคาร

       คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ

       อดีตกรรมการบริหารความเสี่ยง องค์การเภสัชกรรม